รักษาอาการกรนด้วยตนเอง โดยไม่ต้องผ่าตัด ง่ายๆแต่ได้ผล

535

รักษาอาการกรน (Snoring Treatment) ด้วยตนเองเรามารู้จักสาเหตุกันก่อนค่ะ การกรนเกิดจาก เนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆในช่องคอ เช่น ลิ้น ลิ้นไก่ เนื้อเยื่อบริเวณเพดานอ่อนคลายตัวลงตกไปทางด้านหลังขณะที่เรานอน ทำให้ไปปิดกั้นทางเดินผ่านของอากาศของทางเดินหายใจส่วนบน แต่ไม่ได้ปิดสนิทนะคะ ทำให้อากาศที่หายใจเข้า-ออกผ่านทางจมูก ผ่านได้ไม่สะดวก เกิดกระพือบริเวณโคนลิ้น จึงเกิดเสียงกรนขึ้น ยิ่งถ้าเราหลับสนิท หลับลึกมากเท่าไหร่ อวัยวะก็จะคลายตัวมากขึ้นท่านั้น ยิ่งทำให้กรนเสียงดังขึ้น

รักษาอาการกรน

อาการกรนแบบปกติ คือไม่เป็นอันตรายต่อตัวผู้กรน แค่สร้างความรำคาญให้คนข้างๆเท่านั้นเอง แต่อาการกรนแบบที่เป็นอันตราย คือมีการหยุดเต้นของหัวใจหรือมีการหายใจแผ่วร่วมด้วย ส่งผลให้ออกซิเจนในเลือดน้อยลง เมื่อสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอหรือขาดออกซิเจน ก็จะทำการปลุกผู้นอนกรนให้ตื่นขึ้นเพื่อเริ่มหายใจใหม่ และรับออกซิเจนให้เพียงพอ ผู้นอนกรนก็จะสามารถนอนหลับได้สนิท แต่อาการก็จะวนกลับมาเหมือนเดิมตลอดคืน ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียและก่อให้เกิดโรคอื่นตามมาได้

การรักษาอาการกรนให้หายได้ แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยและหาสาเหตุของการกรน แล้วนำไปวิเคราะห์หาวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดให้กับผู้ป่วย โดยหลักใหญ่ๆแล้ว การนอนกรนสามารถรักษาได้ 2 วิธี คือ การไม่ผ่าตัด กับ การผ่าตัด

การรักษาอาการกรนด้วยวิธีไม่ผ่าตัด ทำได้ดังนี้คะ

  • การลดน้ำหนัก หากเรามีน้ำหนักมากเกินจะทำให้ไขมันพอกบริเวณรอบคอหรือทางเดินหายใจส่วนบนได้ ทำให้ทางเดินายใจตีบแคบ ภาวะการนอนกรนก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
  • การออกกำลังกายแบบแอโรบิค ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น หายใจเร็วๆต่อเนื่องกันนาน อย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ไม่ต่ำกว่า 3 วัน จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอหอยตึงตัวขึ้น ไม่ไปอุดกั้นทางเดินหายใจให้แคบลง โดยปกติแล้วเนื้อเยื่อบริเวณทางเดินหายใจจะหย่อนคล้อยไปตามอายุที่มากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงยาบางชนิดที่ทำให้ง่วง เช่น ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท หรือเครื่องดื่มแอลกฮอร์โดยเฉพาะก่อนนอน เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนบนคลายตัวมากขึ้น ทำให้มีการอุดกั้นทางเดินหายใจมากขึ้น
  • เลี่ยงการสูบบุหรี่ภายใน 4-6 ชั่วโมงก่อนนอน บุหรี่จะทำให้เนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนบวม จึงเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ นอกจากนี้สารนิโคตินในบุหรี่กระตุ้นสมองให้ตื่นตัว นอนไม่หลับ
  • การนอนให้ศีรษะสูงประมาณ 30 องศาจากแนวราบ การนอนมีผลต่อการบวมของเนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน สามารถอาการบวมได้บ้าง และไม่ควรนอนหงายเนื่องจากจะทำให้มีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนมากขึ้น
  • การใช้ยาพ่นจมูก อย่างยาสเตียรอยด์ ทำให้เยื่อบุจมูกไม่บวม หายใจโล่ง สามารทำให้เสียงกรนเบาลงได้
  • การใช้เครื่องเป่าลมในทางเดินหายใจส่วนบน ลมที่เป่าเข้าไปจะไปถ่างทางเดินหายใจให้กว้างออก ทำให้ไม่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ มีขนาดเล็กสามารถพกพาได้สะดวก แต่ต้องใช้ทุกคืน ถ้าไม่ใช้ก็จะกลับมานอนกรนหรือมีภาวะหยุดเต้นของหัวใจอีกเช่นเดิม
  • การใช้เครื่องมือทางทันตกรรม คือช่วยยึดขากรรไกรบนและล่างเข้าด้วยกันและเลื่อนขากรรไกรล่างมาทางด้านหน้าและป้องกันไม่ให้ลิ้นและขากรรไกรตกลงมาปิดกั้นทางเดินหายใจ

การรักษาอาการกรนด้วยวิธีการผ่าตัด โดยมุ่งเน้นที่ช่วยขยายทางเดินหายใจส่วนบนให้กว้างขึ้น การผ่าตัดไม่ได้ทำให้อาการกรนหรือภาวะหยุดหายใจหายไปได้นะคะ แต่เพียงทำให้อาการกรนหรือภาวะหยุดหายใจมีน้อยลงเท่านั้นเองคะ

สำหรับการ รักษาอาการกรน นั้นแพทย์จะรักษาด้วยวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัดก่อน แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้นก็อาจพิจารณาให้มีการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาไม่ว่าจะเป็นแบบไม่ต้องผ่าตัดหรือต้องผ่าตัด ก็ล้วนมีโอกาสกลับมามีอาการกรนรุนแรงหรือมีภาวะหยุดหายใจนานๆ ได้เหมือนเดิมนะคะ เราจึงควรใส่ใจดูแลสุขภาพให้ดีอยู่ตลอดเวลาคะ