มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เนื้องอกของระบบน้ำเหลืองในร่างกาย

356

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง คือ เนื้องอกของระบบน้ำเหลืองในร่างกาย ต่อมน้ำเหลืองหรือเนื้อเยื่อน้ำเหลืองมีภาวะเจริญ เติบโตมากเกินไปในระบบน้ำเหลือง ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic System) จัดเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน ประกอบไปด้วยน้ำเหลือง และอวัยวะน้ำเหลือง ได้แก่ ม้าม และไขกระดูก น้ำเหลือง ซึ่งมีหน้าที่นำสารอาหาร และเซลล์เม็ดเลือดขาวไปทั่วร่างกาย เมื่อต่อมน้ำเหลืองทำงานผิดปกติ ปัญหาที่ตามมาคือ ภูมิคุ้มกันต่ำ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ฮอดจ์กิน (Hodgkin Lymphoma) จัดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดที่พบได้น้อยกว่า และมีลักษณะเฉพาะคือ พบ Reed-sternberg cell ซึ่งไม่พบในมะเร็งต่อน้ำเหลืองชนิดอื่น

2. นอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin Lymphoma) ถ้าแบ่งการเจริญของตัวมะเร็งแล้ว จะสามารถแบ่งมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กินออกได้ 2 ชนิด คือ ชนิดค่อยเป็นค่อยไป (Indolent) มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้จะมีอัตราการแบ่งตัวของมะเร็งค่อนข้างช้า แต่มะเร็งชนิดนี้มักจะไม่หายขาดด้วยการรักษาที่มีอยู่ในปัจจุบัน และ ชนิดรุนแรง (Aggressive) มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้ จะมีอัตราการแบ่งตัวของมะเร็งเร็ว ถ้าไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ภายใน 6 เดือน ถึง 2 ปี ข้อแตกต่างจากมะเร็งชนิดค่อยเป็นค่อยไปคือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดรุนแรงมีโอกาสหายหาดจากโรคได้ ถ้าได้รับการรักษา

อาการโดยทั่วไปมักพบก้อนที่คอ รักแร้ หรือ ขาหนีบ หรือในร่องเหนือกระดูกไหปลาร้า นอกจากนี้ยังมีอาการ มีไข้ หนาวสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ มีเหงือออกมากตอนกลางคืน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ไอเรื้อรัง หายใจไม่สะดวก ต่อมทอนซิลโต คันตามตัว เมื่อมะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ เช่น ภายในช่องท้อง ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ปวดหลังเนื่องจากต่อมน้ำเหลืองหลังช่องท้องโต หรือปวดกระดูกเนื่องจากมะเร็งทำลายกระดูก เป็นต้น

สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัส เอชไอวี, STLE 1หรือ กลุ่มเชื้อพวก EDV ไวรัส HTLV HIV EB การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ชนิดทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบ (H. pylori/เอชไพโลริ/เอชไพโลไร) , มีภูมิคุ้มกันต้านทานต่ำจากการกินยากดภูมิคุ้มกัน ยาทานในการรักษาโรคโดยการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ปลูกถ่ายไต,จากการสัมผัสวัตถุเคมี เช่นยาฆ่าแมลง และน้ำยาโกรกผม, การได้รับการแผ่รังสีในปริมาณมากเกินไป และพันธุกรรม

โดยทั่วไปการรักษาจะคล้ายกับการรักษามะเร็งชนิดอื่นในส่วนของการฉายรังสี การใช้ยาเคมีบำบัดหรือคีโม การผ่าตัด แต่อาจมีการปลูกถ่ายไขกระดูกเพิ่มขึ้นมา สำหรับผู้ป่วยที่เป็นระยะรุนแรง มะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถรักษาให้หายได้ ถ้าได้รับตรวจวินิฉัยที่ถูกต้องตั้งแต่ระยะแรก และได้รับการรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องอย่างเหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา

ผู้ป่วย มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง อย่าง ข้าวขาว ผลไม้รสหวาน เส้นพาสต้า น้ำอัดลมเพราะมีการศึกษาพบว่าดัชนีของน้ำตาลที่สูงสัมพันธ์กับการก่อโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง อาหารหมักดอง ควรหันมารับประทานข้าวไม่ขัดสี ธัญญาพืช เนื้อปลาทะเล ผักสด ผลไม้(ควรปอกเปลือกทุกครั้งเพื่อลดปริมาณยาฆ่าแมลง) อาหารที่รับประทานควรปรุงสุก ใหม่ สะอาด และควรหมุนเวียนเมนูอาหารตลอด นอกจากนี้ควรงดเครื่องดื่มแอลกฮอล์ บุหรี่ หลีกเลี่ยงเข้าไปในที่มีผู้คนแออัด เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และควรพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง

ถึงแม้ผู้ป่วยจะรับการรักษาจนหายจากโรคแล้ว แต่ยังมีความจำเป็นที่ต้องติดตามและประเมินผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นโรคซ้ำ หรือการเกิดมะเร็งชนิดอื่นตามมา รวมทั้งเผ้าระวังผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษาด้วยคะ ผู้ป่วยจึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ทานยาตามเวลา และมาพบแพทย์ตรงตามกำหนดนัดทุกครั้ง ร่วมมือทั้งผู้ป่วยและแพทย์เพื่อพิชิตโรคร้ายนะคะ