“เชื่อโบราณจะบานบุรี” คนสมัยก่อนมักจะมีความเชื่อเยอะแยะมากมาย บางอย่างก็สามารถอธิบายได้ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน แต่บางความเชื่อก็ยังหาคำตอบไม่ได้ว่าด้วยเหตุใดจึงควรหรือไม่ควรทำเช่นนั้น ความเชื่อสำหรับหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ก็มีมากมายที่คนโบราณห้ามไม่ให้ทำเชื่อว่าจะส่งผลดีต่อแม่และลูกในครรภ์
ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับอาหารของคนตั้งครรภ์
ข้อห้ามของคนตั้งครรภ์ตามความเชื่อของคนโบราณนั้นมีด้วยการหลายข้อ และแต่ละท้องถิ่นก็จะมีความเชื่อที่ต่างเหมือนและต่างกันไปอีก ความเชื่อที่ว่ามีดังนี้
1.ห้ามทานของเผ็ด เชื่อว่าอาหารเผ็ดร้อนจะไปรดหัวเด็ก ทำให้เด็กแสบร้อนตามไปด้วย
แต่จริงแล้วการทานของเผ็ดอาจทำให้คุณแม่ท้องอืด แน่น หรือทางรายอาจท้องเสีย ซึ่งไม่ดีหากเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์
2.ห้ามทานผักเครือเถา เชื่อว่าเพราะเชื่อว่าจะทำให้คลอดลูกได้ยาก แต่ถ้าจะทานสามารถแก้ได้การเด็ดมือของผักก่อน
อาจจะเป็นเพราะว่าการรับประทานผักที่เป็นเถา อย่าง ตำลึง ถ้าเด็ดยาวมากๆอาจทำให้ติดคอได้ หรือหากไม่เด็ดหนวดออกก็จะติดคอได้เช่นกัน
3.ห้ามทานหอย เชื่อว่าถ้ากินแล้วจะเป็นลางร้ายทำให้เด็กติดแน่นในท้อง คลอดไม่ออก คล้าย ๆ กับหอยที่ติดแน่นอยู่ในเปลือก
แต่ความจริงแล้วการทานหอยสดๆนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรทานอยู่แล้ว ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษได้ แต่ถ้าปรุงสุกแล้วก็สามารถทานได้
4.ห้ามกินเนื้อวัว คนล้านนาเชื่อว่าถ้าคนท้องกินเนื้อวัว เนื้อตัวของเด็กที่คลอดออกมาจะเต็มไปด้วยไขมันและล้างออกยาก
แต่จริงแล้วเนื้อวัวนั้นอาจจะย่อยยากเกินไป คุณแม่ทานเข้าไปอาจมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ หรือท้องผูก
5.ห้ามทานกล้วยและทุเรียน เชื่อว่าเด็กที่เกิดมาตัวจะสกปรก มีแป้งเกาะเต็มตัวตอนคลอด
อาจเพราะถ้ากล้วยและทุเรียนอุดมไปด้วยสารอาหารทำให้เด็กตัวโตซึ่งการคลอดสมัยโบราณอาจทำให้คลอดยาก เป็นอันตรายทั้งแม่และลูก แต่ถ้าปัจจุบันการทานผลไม้ที่มีรสหวานมากๆ อาจทำให้คุณแม่ต้องเผชิญกับภาวะน้ำตาลสูง เสี่ยงต่อครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูง รวมถึงการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะได้ และน้ำตาลทำให้เด็กตัวใหญ่เป็นอุปสรรคต่อการคลอดโดยธรรมชาติ และเสี่ยงที่เด็กจะเสียชีวิตได้
อย่างไรก็ตามความเชื่อของคนโบราณนั้น คงมีเหตุผลตามยุคสมัยนั้น และเป็นกุศโลบายสำหรับสาวตั้งท้องระวังตัวในเรื่องของอาหารการกิน จะได้คลอดลูกออกมาปลอดภัย