คนรุ่นใหม่อาจจะไม่คุ้นกับคำว่า “คลัช” เพราะรถยนต์ที่ใช้ส่วนมากในปัจจุบันนั้นเป็นเกียร์ออร์โต้ ไม่จำเป็นต้องมาค่อยเหยียบคลัชเพื่อทำการเปลี่ยนเกียร์อีกต่อไป ทำให้การขับรถง่ายยิ่งขึ้น แต่คุณกำลังเข้าใจผิดนะคะ รถยนต์ทุกคันไม่ว่าจะเป็นเกียร์ธรรมดาหรือเกียร์ออร์โต้ก็ล้วนแต่มี ระบบคลัช ทั้งนั้นนะคะ ติดตั้งอยู่ระหว่างเครื่องยนต์กับระบบเกียร์ ทำให้เราสามารถเปลี่ยนเกียร์ได้นั่นเอง
คลัช (Clutch) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตัดการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังล้อขับเคลื่อน เมื่อทำการเปลี่ยนเกียร์หรือตอนสตาร์ทเครื่องยนต์ ทำให้สามารถเปลี่ยนเกียร์หรือเข้าเกียร์ได้อย่างนิ่มนวล และในตอนสตาร์ทเครื่องจะช่วยทำให้เครื่องยนต์สามารถเพิ่มความเร็วได้พอเพียงกับการออกตัว
คลัชในรถเกียร์ธรรมดา จะใช้ก็ต่อเมื่อเราจะทำการเข้าเกียร์ โดยการเหยียบและปล่อยคลัช เพื่อส่งกำลังให้รถยนต์เคลื่อนที่ได้ โดยไม่เสียกำลังงานของเครื่องยนต์มากเกินไป และเมื่อรถวิ่งไปแล้วความเร็วก็แปรเปลี่ยนไปตามสภาพถนน คลัชจะทำหน้าที่ในการตัดและต่อกำลังของเครื่องยนต์
คลัชในรถเกียร์ออร์โต้ ที่เราเรียกว่า คลัชแบบอัตโนมัติ ทำงานโดยอาศัยความเร็วรอบเครื่องยนต์เป็นหลัก เมื่อความเร็วรอบของเครื่องยนต์อยู่ขณะเดินเบา แผ่นคลัชจะถูกเลื่อนออก และเมื่อความเร็วรอบของเครื่องยนต์สูงขึ้น แรงกดของคลัชจะกระทำกับแผ่นคลัชทำให้เกียร์เข้าได้อัตโนมัติคะ
ระบบคลัช มีส่วนประกอบมีดังนี้
- ฝาครอบคลัช เป็นที่หุ้มแผ่นคลัช และชิ้นส่วนอื่นๆของคลัช จะประกอบด้วยแขนกดคลัชและจานกดคลัช
- ล้อช่วยแรง เป็นตัวสะสมแรงเฉื่อย และถ่ายเทกำลังที่สะสมไว้ไปหมุนเพลาข้อเหวี่ยง และยังช่วยในการสตาร์ทเครื่องยนต์
- แผ่นคลัช เป็นจานเหล็กกลมๆ บางๆ ยึดติดับเพลา และจะมีผ้าคลัชยึดติดอยู่
- ผ้าคลัช ทำมาจากสารสังเคราห์ผสมใยโลหะ ยึดติดกับแผ่นคลัชทั้ง2ด้าน
- ลูกปืนกดคลัช ทำหน้าที่กดหวีคลัชให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกับกับล้อ
- เพลาคลัช ทำหน้าที่ถ่ายทอดกำลังที่ได้จากแผ่นคลัชไปยังกระปุเกียร์
- ชุดกดแผ่นคลัช ทำให้หน้าที่ยึดแผ่นคลัชให้แนบกับล้อช่วยแรง
- ปั๊มคลัชตัวบน ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของปั๊มคลัชน้ำมัน
- ปั๊มคลัชตัวล่าง ทำหน้าที่รับแรงดันน้ำจากปั๊มตัวบนเมื่อมีการเหยียบคันคลัช
ระบบคลัชที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ
- ลวดสปริง โดยการใช้ขดสปริงหลายตัวใส่ไว้ระหว่างแผ่นกดประกบ
- จานสปริง มีการทำงานคล้ายกับลวดสปริง แต่เปลี่ยนจากขดลวดเป็นแบบจาน ไม่มีคานงัด
- แรงเหวี่ยง คล้ายกับขดสปริง แต่แรงกดได้จากก้อนน้ำหนักที่ติดกับคานงัดแผ่นกดประกบ ซึ่งชนิดนี้สามาถใช้แทนคลัชชนิดสปริงหรือใช้ประกอบกับคลัชชนิดสปริงได้
คลัช จะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 150,000-200,000 กิโลเมตร ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้รถของเจ้ารถด้วย หากเราใช้คลัชอย่างถูกต้องก็จะสามารถยืดอายุการใช้งานได้คะ ด้วยเหตุนี้เราไม่ควรเลียคลัช คือการเหยียบคลัชแช่ค้างไว้แบบครึ่งๆกลางๆ ควรถอนเท้าออกให้สุดทุกครั้ง ซึ่งการเลียคลัชมักจะเกิดขึ้นกับการขับรถในเมือง การจราจรติดขัด การพักเท้าไว้ที่คลัชเพื่อจะได้สะดวกในการเปลี่ยนเกียร์ก็เป็นการใช้คลัชที่ไม่เหมาะสมคะ เพราะน้ำหนักเท้าเพียงเล็กน้อยอาจทำให้จานกดคลัชหนีห่างจากฟลายวีล ทำให้คลัชสึกหรอเร็วขึ้น รวมทั้งการเหยียบคลัชเกินความจำเป็น เช่น เวลาเบรค ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วก็ต้องเหยียบคลัชไว้ก่อน หรือแม้แต่การออกรถกระชากรุนแรง ปล่อยคลัชเร็วเกินไป ทำให้คลัชสึกเร็วและอาจส่งผลเสียต่อระบบเกียร์ตามมา
การใช้งานคลัชอย่างเหมาะสมและถูกต้องไม่เพียงจะช่วยยืดอายุคลัชได้ แต่ยังช่วยให้ระบบอื่น ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วยนะคะ
ข้อมูลเพิ่มเติม: สนใจระบบกันโคลงรถยนต์ ความรู้เกี่ยวกับกันโคลง กันโคลงในรถยนต์มีความสำคัญอย่างไงบ้าง? ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ acpowerthailand.com กันโคลงเจ้าแรกที่คิดค้นผลิตกันโคลงในรูปแบบขาอาร์ม